สรุป >>> ความรู้ทีได้รับจากการเรียน

สวัสดีค่ะ ครั้งนี้ก็เป็นครั้งสุดท้ายหลังการเรียนการสอนจบ โดยอาจารย์ให้นักศึกษา สุปความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในวิชานี้ หลังจากสอบเสร็จ สำหรับการเรียนในวิชานี้ บรรยากาศโดยทั่วไป นักศึกษาได้เรียนในห้องคอมพิวเตอร์ซึ่งหนาวมาก แถมไวรัสนั้นเยอะมากแทบไม่กล้าเสียบแฟลซไดต์เข้าเครื่องเลยทีเดียว จากที่สังเกตบางครั้งนักศึกษาให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี แต่ก็มีบางที่จะหันไปให้ความสนใจกับคอมพิวเตอร์ อาจารย์เป็นกันเองกับนักศึกษามากๆ มีทั้งทบทวนความรู้เดิมที่เรียนมาผนวกเข้ากับองค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับ ทำให้การเรียนการสอนง่ายขึ้น การเรียนการสอนไม่เป็นเรื่องที่ไกลตัวเกินไป แต่ก็มีบ้างที่ตอบได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ทุกอย่งก็ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี อีกทั้งบรรยากาศก็สนุกสนานเป็นกันเองด้วยค่ะ

ความรู้ที่ได้รับ >>> อันดับแรกการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ต้องสอนจาก ของจริง ก่อนแล้วจึงมารูปภาพ และเรียนรู้สัญลักษณ์ตามลำดับ

อีกทั้งทำให้ทราบบว่าคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก สามารถสอนได้จากชีวิตประจำวันโดยทั่วไป ไม่ว่าจะตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน เช่น การรับประทานอาหาร การพับเสื้อผ้าและเก็บใส่ตู้ เป็นต้น

การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่มีหน่วยการวัดโดยตรง เช่น ไม้บรรทัด แต่สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นสามารถใช้ "เครื่องมือไม่เป็นทางการในการการวัด" ได้ เช่น ฝ่ามือ แก้ว กระป๋อง เป็นต้น

การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไม่ใช่การสอนเพื่อการท่องจำแต่อย่างไร แต่ควรสร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่น สามารถเรียนรู้ที่จะคิดแก้ปัญหาได้ และควรส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านอย่างต่อเนื่อง โดยกิจกรรมที่สามารถแนะนำให้ผู้ปกครองใช้เป็นกิจกรรมในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้ลูกได้ ก็อย่างเช่น การประกอบอาหาร
ดังนั้นคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยควรสอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเปิดโอกาสให้เด็กค้นพบคำตอบด้วยตัวเองค่ะ

กิจกรรมที่ให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

大家好.
สวัสดีค่ะ กลับมาทักทายสวัสดีกันอีกครั้งนะคะ ก็ห่างหายจากบล็อกไปซะนานเลยค่ะ ช่วงนี้ก็อยู่ในช่วงสอบ ก็ขอให้เพื่อนๆทำข้อสอบได้คะแนนดีๆนะคะ โชคดีกันทุกคนค่ะ

เมื่อประมาณช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ อาจารย์ก็ได้สั่งงานอีกงานหนึ่งที่เราเกือบลืมไปก็คือ กิจกรรมที่ให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ซึ่งอาจารย์ก็ได้สั่งมานานมากๆแล้ว พอบังเอิญได้ไปเปิดดูสมุดจดการบ้าน แทบตกใจเลย Oh my god พระเจ้าช่วยกล้วยทอด เราลืมงานที่อาจารย์สั่งไปได้อย่างไร

พอดีวันนี้มีโอกาสก็เลยนั่งเซิร์ตๆหาไปเรื่อยๆก็พลันสายตาไปเจอเข้ากับเว็บๆหนึ่ง เป็นหัวข้อเรื่อง คณิตคิดสนุก เริ่มที่บ้าน ถ้าหากสนใจเพิ่มเติมลอง Click เข้าไปดูนะคะ


เนื้อหาโดยทั้งหมดเป็นการบรรยายโดย อาจารย์สุรัชน์ อินทสังข์ จากภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง บรรยายพิเศษ เรื่อง "ผู้ปกครองกับการส่งเสริม การเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยตนเองที่บ้าน"

เมื่อลองอ่านแล้วมีอยู่ประโยคหนึ่งที่ อาจารย์สุรัชน์กล่าวคือ "คณิตศาสตร์ซ่อนอยู่ในหลายๆ ที่ ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น หนังสือพิมพ์ ในห้องครัว ในสวน สนามเด็กเล่น เป็นต้น เมื่อผู้ปกครองพบเห็นอะไร ก็สามารถเก็บประเด็นแล้วนำมาพูดคุยกับลูกหลานได้ หรือหากิจกรรมสนุกมาทำร่วมกันในครอบครัวและให้เด็กมีส่วนร่วมด้วย เช่น เล่นเกมทางคณิตศาสตร์ เข้าครัวทำอาหาร เป็นต้น"

จากที่อาจารย์กล่าวมานั้นถ้าเราลองคิดดีๆคณิตศาสตร์มีอยู่ทุกแห่งจริงๆ ทั้งในชีวิตประจำด้วย ตั้งแต่เราตื่นนอนจนถึงหลับไปอีกรอบ ก็เป็นคณิตศาสตร์แล้ว ก็คือเรื่องของเวลานั่นเองว่าจะตื่นกี่โมง นอนกี่โมง หรือเรื่องของกลางวัน กลางคืน

อ.สุรัชน์ ยังยกตัวอย่างกิจกรรม ให้ผู้ปกครองและเด็กทำเยลลีด้วยกัน ซึ่งทำได้ไม่ยาก และเด็กก็จะได้เรียนรู้ทักษะการชั่ง ตวง วัด ว่าหากต้องการผงเยลลีเท่านี้ ผสมน้ำเท่านั้น จะมีวิธีตวงได้อย่างไร หรืออาจพลิกแพลงสูตรที่ต่างออกไป เช่น ลองใส่น้ำมากขึ้นหรือน้อยลง และเยลลีที่ได้จะมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง เด็กก็จะได้เรียนรู้อีกว่าควรจะใส่ส่วนผสมในปริมาณเท่าไหร่จึงจะได้เยลลีที่อร่อยที่สุด

หรือชักชวนลูกหลานไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผนว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคำนวณเลข นอกจากนี้เวลาที่เดินทางไปยังที่ต่างๆ ซึ่งจะพบป้ายบอกระยะทางได้ทั่วไป ก็สามารถหยิบยกเอามาเป็นโจทย์ให้เด็กฝึกคิดเลขได้ไม่ยาก

เพียงกิจกรรมเล็กๆน้อยๆเราก็สามารถทำร่วมกันทั้งพ่อแม่ลูกได้แล้ว แค่การทำอาหารง่ายๆก็สามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ไปในตัวได้แล้ว ซึ่งกิจกรรมให้ความรู้ปกครองที่กล่าวมานั้น ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ และเพื่อนๆก็อย่าลืมว่า คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกแห่งจริงค่ะ วันนี้ก็ขอไว้แค่นี้ก่อนนะคะ จ้ายเจี้ยนค่ะ

Mind Mapping

大家好.

สวัสดีค่ะ วันนี้ขอนำเสนอ Mind Mapping ทั้งฉันและเพื่อนๆสมาชิกในกลุ่มเป็นคนช่วยกันทำออกมา ก่อนที่จะนำเสนอเป็นแผน โดยครั้งแรกอาจารย์ให้นักศึกษาทำเป็นงานเดี่ยวก่อน โดยฉันก็ได้สร้าง Mind Mapping ใน"หน่วยไข่"ขึ้นมา ดังนี้


จากที่เพื่อนๆเห็นนั้น เป็นการทำในโปรแกรม Microsoft Word ซึ่ง ณ ขณะนั้นฉันยังไม่มีโปรแกรมสำหรับการทำ Mind Mapping โดยตรง และอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำติชมประวาณว่า ควรทำให้ละเอียดกว่านี้ สำหรับหัวข้อจะคล้ายกัน เช่น ประโยชน์และทำอะไรได้บ้าง ควรอยู่รวมในหัวข้อเดียวกัน ลักษณะของเส้นก็ควรทำให้ต่อกันเหมือนกิ่งไม้

พอครั้งที่ 2 อาจารย์ก็ให้รวมเป็นกลุ่มเดียวกัน และให้เลือกของคนใดคนหนึ่งออกมา โดยเพื่อนๆก็เลือกของฉัน คือ "หน่วยไข่" และได้เพิ่มเติมเนื้อหาให้มากขึ้นและดีขึ้นกว่าเดิม และทำในโปรแกรม Mind Mapper 2008 ดังนี้



สำหรับ Mind Mapping สุดท้ายเป็นการทำเพื่อนำไปออกแบบเป็นแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และนำมาสอนแยกเป็นอนุบาล ดังที่กล่าวไว้ในบันทึกก่อนหน้านี้ ในการทำครั้งนี้เป็นเรื่อง "หน่วยแมลง" ดังนี้


การจัดทำ Mind Mapping ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ โดยในการทำหน่วยแมลงนั้น กลุ่มของฉันได้ กลุ่มอนุบาล สิ่งนำเสนอในการออกมาสอนหน้าชั้นเรียนก็จะมีเรื่อง ชื่อของแมลง,ลักษณะของแมลง,ประโยชน์ของแมลง,โทษของแมลง,การป้องกันตัวเองให้รอดพ้นจากอันตรายของแมลง สำหรับครั้งนี้ขอนำเสนอไว้เท่านี้ก่อนนะคะไว้พบกันใหม่ในโอกาสหน้า สวัสดีค่ะ

การสอนหน้าชั้นเรียน

เมื่อวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ผ่านมานั้น นักศึกษาทุกคนได้ออกไปเสนอการสอนหน้าชั้นเรียนให้อาจารย์และเพื่อนฟัง โดยแต่ละคนก็ได้รับการแนะนำไปถ้วนทั่วตามๆกัน


วันที่ 10 นั้น เพื่อนกลุ่มดอกไม้ได้นำเสนอไปก่อน พออีกวันถัดมากลุ่มแมลงก็นำเสนอต่อ โดยเราเริ่มเป็นคนแรกเลย โดยสอน อนุบาล 1 เรื่องชื่อของแมลง

กิจกรรมการสอน (ในแผน) มีดังนี้

ขั้นนำ
ครูท่องคำคล้องจอง “แมลง” ให้เด็กๆฟัง จากนั้นครูให้เด็กๆพูดตามทีละวรรคจนคล่อง แล้วให้เด็กๆท่องพร้อมกัน
ขั้นสอน
1.ครูสนทนากับเด็กเกี่ยวกับเนื้อเรื่องในคำคล้องจอง โดยใช้คำถามดังนี้
- แมลงในคำคล้องจองทั้งหมดมีกี่ตัว ?
- แมลงทั้งหมดมีชื่อว่าอะไรบ้าง?
2. ครูและเด็กๆร่วมกันสนทนาถึงชื่อแมลงที่เด็กๆรู้จัก
3. ครูนำแมลงบางชนิดมาให้เด็กสังเกต เช่น มด โดยใส่ในแก้วใสหรือขวด แล้วให้เด็กๆนับจำนวนมด
4. ครูนำภาพ ( ผีเสื้อ แมลงปอ ยุง แมลงวัน ) ให้เด็กดูและซักถามว่าเป็นภาพอะไรพร้อมนับจำนวนของแมลง
ขั้นสรุป
ครูและเด็กๆร่วมกันสรุปชื่อและนับจำนวนแมลงอีกครั้ง






ข้อสนอแนะของอาจารย์
- ควรแนะนำชื่อแมลงก่อนนับ
- ควรแนะนำเครื่องมือ เช่น แว่นขยาย
- ควรมีผ้าคลุมมด เพราะมดอาจขาดอากาศหายใจได้
- วิธีการวางภาพ ควรวางจากซ้ายไปขวา
- วิธีสรุป อาจถามว่าเด็กๆ รู้จักแมลงอะไรบ้าง และลองนับอีกรอบ

ดังนั้นจึงขอบคุณอาจารย์ที่ให้ข้อแนะนำค่ะ ขอบคุณอาจารย์ค่ะ
บรรยากาศในการเรียนการสอนวันนั้น เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือดีค่ะ ขอบคุณเพื่อนๆค่ะ

เพิ่มเติม
คำคล้องจองแมลง
แต่งโดย นางสาวจิราพร พุ่มเรือง และคณะ

“โลกเราช่างสดสวย
รอบล้อมด้วยหมู่แมลง
ผีเสื้อ ยุง และมดแดง
แมลงปอก็มากมี
แมลงวันตัวน้อยๆ
อีกหิ่งห้อยตัวหลากสี
เต่าทองน่ารักดี
ล้วนแต่มีอยู่ทั่วไป”

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

大家好.

สวัสดีค่ะ สำหรับการเรียนการสอนของวันนี้ อาจารย์อธิบายถึงวิธีการจัดประสบการณ์ให้ประสบผลสำเร็จ และจากนั้นก็อธิบายเพิ่มเติมต่อจากสัปดาห์ที่แล้วเกี่ยวกับเนื้อหาและวิธีการสอนของแต่ละอนุบาลอย่างละเอียด ซึ่งการเรียนการสอนในวันนี้ยาวนานมาก ถึงประมาณหกโมงเย็น แต่ก็ได้ความรู้เยอะมากเลยค่ะ

บรรยากาศในการเรียนของวันนี้ นักศึกษาต่างก็ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย โดยเฉพาะของตนเอง แต่ก็มีบ้างที่นักศึกษาไม่ได้สนใจฟัง เพราะว่าไม่เรื่องของตนเอง แต่สำหรับเราแล้วก็จดเกือบทุกอนุบาลเลย แต่พอหลังๆก็เริ่มขี้เกียจแล้วเลยจดของอนุบาล 3 ไปนิดเดียวเอง (T_T)

สรุปเนื้อหาการเรียน (สำคัญ)
***การจัดประสบการณ์ให้ประสบผลสำเร็จ***
ต้องรู้"วิธีการเรียนรู้" (การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และลงปฏิบัติจริงกับสิ่งนั้น) ได้แก่
- รู้พัฒนาการ
- รู้ความต้องการของเด็ก
- รู้ธรรมชาติของเด็ก เช่น การเล่น (เป็นเครื่องมือที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้)

***วิธีการสอนคณิตศาสตร์***
สอนจากของจริง >>> ภาพ >>> สัญลักษณ์*

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553


สวัสดีค่ะ วันนี้กลุ่มเราก็เข้าห้องเรียนเป็นกลุ่มแรกเลยล่ะ ดีใจมากที่อาจารย์ชมว่ามารอเรียน.... พอได้เวลาเรียน อาจารย์ก็เริ่มตรวจงานก่อน ของแต่ละกลุ่ม ซึ่งในห้องก็แบ่งเป็นกลุ่ม A และ กลุ่ม B สำหรับกลุ่มเราก็ได้อนุบาล 1 A ทำเรื่อง แมลง ส่วนกลุ่ม B ทำเรื่อง ดอกไม้ค่ะ แต่สำหรับในห้องจะมีการสับสนนิดหน่อยระหว่าง กลุ่ม A และกลุ่ม B ว่าได้เรื่องอะไร อิอิ แต่ก็เป็นเรื่องขำขำไป
หลังจากนั้นอาจารย์ก็อธิบายหัวข้อและเนื้อหาที่แต่ละอนุบาลต้องสอน อาจารย์เริ่มอธิบายของกลุ่มดอกไม้ก่อน ว่าต้องสอนอย่างไร เช่น



หน่วยดอกไม้
อนุบาล 1 มีทั้งเรื่องชื่อของดอกไม้, ลักษณะของดอกไม้, ประโยชน์ โทษ ของดอกไม้เป็นต้น
อนุบาล 2 ก็จะลงลึกขึ้น คือจะเจาะเป็นเฉพาะดอกไม้ไปเลย เช่น เรื่องดอกกุหลาบ
จะสอนเกี่ยวกับ พันธ์, ลักษณะ, สามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง, อาชีพ เป็นต้น
อนุบาล 3 เน้นเรื่องการปฏิบัติจริงมากขึ้น เช่น เป็นการสอนลักษณะของโครงการ
คือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น ให้เด็กเดินดูบริเวณรอบๆโรงเรียน อาจมีให้เด็กได้ปลูกดอกไม้ ได้รู้ถึงขั้นตอนการปลูกเป็นต้น



หน่วยแมลง
ลักษณะการสอนจะคล้ายของดอกไม้ ในส่วนที่เป็นหัวข้อในการสอน
อนุบาล 1 สอนคล้ายดอกไม้ เช่น ชื่อของแมลง, ลักษณะของแมลง เป็นต้น
อนุบาล 2 สอนเกี่ยวกับยุง คือเจาะไปเฉพาะเรื่องเลย
อนุบาล 3 สอน ประเภท, การสำรวจสถานที่ที่มีแมลงเยอะๆ, วิธีทำให้แมลงมาหาเรา เป็นต้น

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

大家好.


สวัสดีเพื่อนๆ ทุกคน บรรยากาศในวันนี้ ก่อนอื่นขอบอกว่าได้เรียนในห้องคอมพิวเตอร์เหมือนเดิม ก็ดีใจหน่อย แต่ก็มีเพื่อนๆบางคนแอบเล่นเกมส์จนอาจาร์ยไม่พอใจ ก็น่าสงสารอาจารย์เหมือนกัน เพื่อนๆก็ร่วมตอบคำถามได้บ้างไม่ได้บ้างเหมือนเดิม ห้องเรียนก็ไม่ค่อยหนาวเท่าไหร่ ก็เรียนได้ คอมพิวเตอร์ก็มีปัญหานิดหน่อยคะ ทุกอย่างในวันนี้ก็ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี


สำหรับวันนี้อาจารย์ตรวจงานที่นักศึกษาส่ง แต่ว่างานของแต่ละคนเปิดไม่ได้ อาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติมในบางส่วนที่ต้องส่งงาน โดยให้นำงานจากเดิมมาแบ่งเป็น 3 ช่วง ตามระดับอายุ แล้วคุยกันว่าจะอยู่ระดับไหน แล้วจึงนำมาเขียนแผนทั้งหมด 5 วัน


ในเรื่องของการเรียนการสอนโดยทั่วไปอาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่องการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เสียส่วนใหญ่ เพราะว่านักศึกษาแต่ละกลุ่มต้องเขียนแผนฯ สำหรับเราเองก็รีบทำงานให้เสร็จเเรยบร้อยโดยเร็วค่ะ

สำ
หรับงานอีกอย่างหนึ่งที่อาจารย์มอบหมายให้คือ การร้อยลูกปัดเข้ากับลวดกำมะหยี่ แล้วอาจารย์ก็อธิบายว่าการร้อยลูกปัดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์อย่างไร จนทุกคนเข้าใจค่ะ


再见.

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553


大家好.

สวัสดีค่ะ วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ซึ่งหัวข้อโดยรวมที่สอนก็อย่างเช่น
- คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
- มาตรฐานการวัดในระบบเมตริก
- ลักษณะหลักสูตรที่ดี
- หลักการสอน
- หลักการสอนทางคณิตศาสตร์
- ขอบข่ายทางคณิตศาสตร์

สำหรับเนื้อหาโดยสรุปจากการเรียนการสอน คือ

- ในเรื่องของตัวเลขนั้น ควรให้เด็กได้คิดเห็น เขียนเอง ควรอยู่ในชีวิตประจำวันของเด็กด้วย เช่น การเขียนวันที่ อายุ เลขห้อง เบอร์โทร น้ำหนัก ส่วนสูง บ้านเลขที่ จำนวนสมาชิกในห้อง จำนวนสมาชิกในบ้าน ฯลฯ

- สำหรับมาตรฐานการวัดระบบเมตริก : "ใช้เครื่องมือไม่เป็นทางการในการวัด" เช่น ฝ่ามือ แก้ว กระป๋อง

- ความเชื่อมั่นของเด็กจะเกิดขึ้นได้ เมื่อเด็กทำเองด้วยความเต็มใจโดยครูเป็นผู้สนับสนุนและคอยเป็นกำลังใจ

หลักการสอนคณิตศาสตร์
1. สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เช่น การรินนมครึ่งแก้ว เต็มแก้ว
2. เปิดโอกาสให้เด็กพบคำตอบด้วยตัวเอง เช่น กล้วยหนึ่งหวี เด็กกัดกี่คำจึงหมด
3. มีเป้าหมายและการาวงแผนอย่างดี
4. เอาใจใส่เรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของพัฒนาการ ความคิดรวบยอด
5. ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรม
6. ใช้ประโบชน์จากประสบการณ์เดิม
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8. ให้เด็กมีส่วนร่วมเกี่ยวกับตัวเลข
9. ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
10 เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปหายาก

บรรยากาศในการเรียนโดยทั่วไปของวันนี้หนาวมากเลย หนาวเสียยิ่งกว่าหนาวอีก อย่างกับอยู่ขั้วโลก หนาวจนทำให้มือเขียวไปหมดเลย นึกว่าตัวเองจะตายซะแล้วเชียว ส่วนบรรยากาศในการเรียนวันนี้เพื่อนก็ร่วมตอบคำถามของอาจารย์บ้าง แต่ก็มีบ้างที่ตอบคำถามไม่ได้ แต่อาจารย์ก็จะพูดและยกตัวอย่างให้เข้าใจจนเพื่อนๆสามารถตอบๆได้ สำหรับในวันนี้ก็ได้ความรู้ไปเยอะเลยค่ะ ขอบคุณค่ะอาจารย์

再见.




Counting Numbers 1 - 10

เกมส์เรียงตัวเลข


เล่นเกมส์เกมส์เรียงตัวเลขและเกมส์อื่นๆที่นี่

เกมส์จับผิดภาพ


เล่นเกมส์เกมส์จับผิดภาพและเกมส์อื่นๆที่นี่