สื่อคณิตศาสตร์ ประสบการณ์จาก Practicum 1

大家好

สวัสดีจ้า ห่างหายไปนานเลยไม่ได้เรียนตั้ง 2 สัปดาห์เลย พอดีมีโอกาสได้สังเกตการเรียนการสอน ซึ่งอยู่ในรายวิชา Practicum 1 หรือ ปฏิบัติการวิชาชีพครูนั่นเอง ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน ถึง 9 ธันวาคม ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ซึ่งทำให้ได้ความรู้ และมีประสบการณ์มากขึ้นเลยทีเดียว ได้รู้ทั้งพัฒนาการ ความสามารถของเด็กซึ่งห้องที่ได้ไปลงสังเกตนั้น คือห้อง อ.1/1 เด็กๆอายุแค่ 1-3 ปีเอง น้อยสุดคืออายุ 1 ปี 8 เดือน มากสุดก็แค่ 3 ปี เด็กๆทุกคนน่ารักมากเลย เล่าแล้วก็อดคิดถึงไม่ได้

วันนี้ก็เลยมีเรื่องมานำเสนอ เพื่อให้เข้ากับบล็อกนี้ก็เลยขอเสนอเรื่องเกี่ยวกับสื่อคณิตศาสตร์ หากเพื่อนๆต้องการทราบว่าสื่อคณิตศาสตร์คืออะไร เป็นอย่างไร สามารถดูข้อมูลได้ ด้านล่างเลยนะ ครั้งนี้ก็เลยนำรูปมาประมวลให้เพื่อนๆได้ดูกัน ว่าในห้อง อ.1/1 มีสื่ออะไรบ้าง เช่น ไม้บล็อค รูปเรขาคณิตต่างๆ หนังสือนิทาน หรืออื่นๆอีกมากมาย เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เชิญชมเลยจ้า












เพื่อนๆก็ดูกันแล้วใช่ไหม เป็นยังไงบ้างล่ะ แล้วครั้งหน้าเราจะเอารูปทั้งหมดมาลงให้ดูอีกที แล้วก็จะเล่าประสบการณ์ที่ได้ไปสังเกตการเรียนการสอนมาให้อ่านกันอีกที ครั้งนี้ก็ขอกล่าวคำว่า สวัสดี แล้วพบกันใหม่

สื่อคณิตศาสตร์

สื่อคณิตศาสตร์

ความหมายของสื่อการสอน

สิริมณี บรรจง (ออนไลน์) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง อุปกรณ์ หรือเทคนิควิธีการสอนต่างๆที่ช่วยจัดการเรียนรู้ ให้เด็กปฐมวัยให้สามารถเรียนรู้ได้ง่าย และดีขึ้น เช่น บัตรคำ เทปนิทาน เป็นต้น

สื่อการสอนคณิตศาสตร์ ตามแนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้

สิริมณี บรรจง (ออนไลน์) ได้รวบรวมแนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้

1. สื่อการสอนคณิตศาสตร์ของฟรอเบล

ฟรอเบล เน้นสร้างสื่อการสอนที่เป็นเครื่องเล่น เพราะจุดเน้นในการจัดการเรียนรู้ของฟรอเบล คือการกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนรู้ ดังนั้น เขาจึงผลิตชุดอุปกรณ์ขึ้นมา 2 ชุด เรียกว่า 1.ชุดของขวัญ หรือ Gift Set 2.ชุดอุปกรณ์การงานอาชีพ สื่อการสอนของเฟอรเบลจะใช้เพื่อพัฒนาความสามารถทางสติปัญญา และกระตุ้นให้เด็กใช้พัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี

2. สื่อการสอนคณิตศาสตร์ของมอนเตสซอรี่

เน้นส่งเสริมให้เด็กพัฒนาความสามารถ และความสนใจของตนเอง โดยครูเป็นผู้จัดเตรียมสภาพแวดล้อมให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้มากที่สุด ซึ่งอุปกรณ์การเรียนรู้ของมอนเตสซอรี่นี้จะกอบด้วยชุดอุปกรณ์การเรียนรู้ 3 กลุ่มได้แก่ 1. กลุ่มประสบการณ์ชีวิต เช่น ร้อยลูกปัด แต่งตัว เช็ดกระจก เป็นต้น 2. กลุ่มประสาทสัมผัส เช่น แยกความแตกต่าง ของสี กลิ่น เสียงได้ 3.กลุ่มวิชาการ เช่นเข้าใจ ตัวเลข สัญลักษณ์

3. สื่อการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิด ไฮสโคป

เน้นให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 การให้เด็กเล่นกับวัสดุโดยตรง เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย สื่อการสอนนั้นควรเน้นให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น การจำแนกวัสดุ - สิ่งของ จำนวน เวลา เป็นต้น

4. สื่อการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษา

เน้นการใช้ของจริง และสามารถนำไปใช้เพื่อฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ด้านต่างๆ ได้ เช่น บล็อกต่างๆ สื่อการฝึกนับ รูปทรงเรขาคณิตต่างๆ ปฏิทิน นาฬิกา เป็นต้น

ตัวอย่างสื่อคณิตศาสตร์

ไม้บล็อค


ความหมายของการเล่นไม้บล็อค

กัญญา เอื้อเชิดกุล. (2545: 19-20) ได้รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับไม้บล็อคในแง่มุมต่างๆไว้ ดังนี้

ไม้บล็อคเป็นเครื่องเล่นที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะเป็นวัสดุที่แข็งแรงทนทาน สามารถหยิบจับได้สะดวก และสามารถนำมาสร้างเป็นสิ่งต่างๆตามความพอใจได้ เป็นเครื่องเล่นที่ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้อย่างมาก

ไม้บล็อคมีรูปทรงและขนาดต่างๆกัน มีทั้งที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า สามเหลี่ยม วงกลม ครึ่งวงกลม รูปโค้ง มีทั้งขนาดเล็กละใหญ่ ตัวทึบและกลวง ถ้าเป็นไม้บล็อกใหญ่จะเป็นแบบกลวง เพื่อไม่ให้น้ำหนักมากเกินไป เด็กจะได้เคลื่อนย้ายได้สะดวก (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.2525 : 211)

ไม้บล็อคเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์และให้ความสนุกอย่างมากที่พบในชั้นเรียนของเด็กก่อนวัยเรียน มีหลากหลายรูปร่างหลายขนาด ผลิตจากวัสดุหลายชนิด สามารถใช้เล่นอย่างเดียวหรือนำไปประกอบ รวมเข้ากับอุปกรณ์อย่างอื่น ซึ่งนำมาถึงความสนุกสนาน การละเล่น อย่างไม่มีขีดจำกัด (Eva Essa. 1996 : 293)

ความสำคัญและคุณค่าของการเล่นไม้บล็อค
การเล่นไม้บล็อค ในด้านคุณค่าทางการศึกษา ดังนี้

1. ให้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่น กว้าง ยาว สั้น สูง หนา มากขึ้น น้อยลง

2. เด็กเรียนรู้รูปทรงต่างๆ เช่น สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ครึ่งวงกลมและทรงกระบอก

3. ให้พื้นฐานทางด้านฟิสิกส์ เด็กจะเรียนรู้ว่า จะใช้แท่งไหนก่อนตรงไหน จึงจะรับน้ำหนักกันได้

4. ฝึกประสาทสัมผัสตากับมือ

5. ฝึกความคิดสร้างสรรค์

6. พัฒนาด้านภาษา

7. พัฒนาด้านอารมณ์ สังคม

8. ปลูกฝังลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์

9. เด็กจะเรียนรู้และฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเอง(กัญญา เอื้อเชิดกุล. (2545: 20-21) อ้างจาก ภรณี คุรุรัตนะ. 2535 : 19)

สรุปได้ว่า ในการเล่นไม้บล็อกนั้นเด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เช่น ขนาด รูปร่าง การนับ การจำแนก เมื่อได้เล่นไม้บล็อกเด็กจะเรียนรู้ความหมายของแต่ละจำนวน เรียนรู้เกี่ยวกับชื่อของไม้บล็อกในแต่ละอัน และเรียนรู้การแก้ปัญหา เช่น การสร้างสะพานต้องเลือกความยาวของไม้บล็อคที่เหมาะสม

เกมการศึกษา

ความหมายของเกมการศึกษา

วัลนา ธรจักร. (2544: 32) ได้รวบรวมความหมายของเกมการศึกษาไว้ดังนี้

สำนักงานประถมศึกษากรุงเทพมหานคร (2527 : 5) กล่าวว่า เกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้เพื่อเป็นพื้นฐานการศึกษา เกมการศึกษามุ่งเน้นให้เด็กได้ใช้สติปัญญาในการสังเกต คิดหาเหตุผลและแก้ปัญหาโดยพยายามฝึกใช้เวลาสั้นที่สุด

กรมวิชาการ (2540 : 44) กล่าวว่า เกทมการศึกษาเป็นเกมท ช่วยพัฒนาสติปัญญา มีกฏเกณฑ์ กติกาง่ายๆ เด็กสามารถเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มได้

สรุปความหมายของเกมการศึกษาได้ว่า เกมการศึกษา เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน และเป็นกิจกรรมที่สนองต่อความต้องการตามวัยของเด็กด้วย

ประเภทของเกมการศึกษา

วัลนา ธรจักร. (2544: 33-36) อ้างจาก สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ (2541 : 145-153) กำหนดประเภทของเกมการศึกษาออกเป็นดังนี้

1. เกมจับคู่

2. เกมภาพตัดต่อ

3. เกมโดมิโน

4. เกมเรียงลำดับ

5. เกมการจัดหมวดหมู่

6. เกมหาความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับสัญลักษณ์

7. เกมหาภาพที่มีความสัมพันธ์ลำดับที่กำหนด

8. เกมการสังเกตรายละเอียดของภาพ (ลอตโต)

9. เกมหาความสัมพันธ์แบบอุปมาอุปไมย

10. เกมพื้นฐานการบวก

11. เกมจับคู่ตารางสัมพันธ์ (เมตริกเกม)

สรุปได้ว่า เกมการศึกษาเป็นกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็กทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา นอกจากนี้ยังช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ฝึกทักษะการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และภาษา เกมการศึกษามีหลายรูปแบบการจัดเกมการศึกษาให้เด็กได้เล่นต้องคำนึงถึง ความสามารถตามวัยของเด็กด้วย

สรุป

สื่อการสอนคณิตศาสตร์มีความจำเป็นในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก เพราะเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ทางด้านรูปธรรม มากกว่านามธรรม ดังนั้น ในการใช้สื่อคณิตศาสตร์สอนเด็ก ครูควรจะเน้นให้เด็กลงมือกระทำ คิด และแก้ปัญหาด้วยตัวเอง

อ้างอิง

กัญญา เอื้อเชิดกุล. (2545). การศึกษาความพร้อมทางภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ชั้นปฐมวัย จากการจัดกิจกรรมการเล่นไม้บล็อก. ปริญญานิพนธ์ กศ.. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จงรัก อ่วมมีเพียร. (2547). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมสื่อผสม. ปริญญานิพนธ์ กศ.. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัลนา ธรจักร. (2544). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาประกอบการประเมินสภาพจริง. ปริญญานิพนธ์ กศ.. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สิริมณี บรรจง. การแก้ปัญหา วันที่4 สรุปบทเรียน วิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. (ออนไลน์) แหล่งที่มา: http://learners.in.th/blog/sasitorn-edu3204/189188. วันที่สืบค้น12 พฤศจิกายน 2552.

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 19 พฤศจิกายน 2552

โอ๊ะโอ!!! เกือบลืมบันทึกครั้งนี้แน่ะ ในการเรียนวันนั้น เริ่มแรกจะมีปัญหาในเรื่องการส่งงานนิดหน่อย เพราะนักศึกษาไม่เข้าใจ หรือเข้าใจไปคนละอย่างกับอาจารย์ นักศึกษาต่างก็ส่งงานให้อาจารย์ทาง E-mail ทั้งๆที่อาจารย์ให้ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ซึ่งนักศึกษาก็ไม่ได้เตรียมตัสวมา เพราะคิดว่า แค่ส่งเป็น E-mail ให้อาจารย์แค่นั้น แต่นักศึกษาในห้องนี้ช่างกระไร เวลาเข้า ตอนบ่าย 2 นักศึกษาแต่ละกลุ่ม รวมทั้งฉันด้วย ก็ช่างขยันเสียจริง (ประชด) ส่งงานให้อาจารย์ตอนเที่ยงซะนี่ (แล้วอาจารย์จะเอาเวลาที่ไหนไปตรวจ ห๊า!!) หุหุ หนูผิดไปแล้วคะอาจารย์ (T^T)

แต่ก็ด้วยความเมตตากรุณาของอาจารย์ อาจารย์ก็เลยเปิด E-mail ของอาจารย์ ที่นักศึกษาส่งไปให้ และช่วยแนะนำ ในข้อมูลต่างๆ ที่นักศึกษาส่งมา ว่าควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ในระหว่างที่อาจารย์เปิดไฟล์ของกลุ่มฉันอยู่นั้น... อยู่นั้น... อยู่นั้น... แล้วอะไรเกิดขึ้นล่ะ... โอ้แม่เจ้า!!! ไฟล์เปิดไม่ได้ แถมยังโหลดนานมากมาย ไม่รู้ไฟล์จะใหญ่ไปถึงไหนกัน (มันก็ไม่มีอะไรตื่นเต้นหรอก เราจะตื่นเต้นทำไมเนี่ย @_@ )

ในระหว่างนั้นอาจารย์ก็พูดถึงเรื่องการออกสังเกตการเรียนการสอน ซึ่งฉันก็ได้ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ในการสังเกตการสอน พร้อมตกลงถึงเรื่องการลงโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนสาธิตคนยังไม่เต็ม อาจารย์จึงให้คนลงโรงวเรียนสาธิต และเกษมพิศให้เต็มก่อน ถึงไปลงโรงเรียนอื่นได้ ซึ่งโรงเรียนสาธิตรับทั้งหมด 7 คน กับโรงเรียนเกษมพิศ 14 คน ในห้องก็มีปัญหากันนิดหน่อยเรื่องการเลือกโรงเรียน ก็ย่อมมีทั้งคนพอใจและไม่พอใจบ้างเป็นธรรมดา แต่ก็ผ่านพ้นไปได้ บรรยากาศตอนนั้นก็วุ่นวายนิดหน่อย ส่วนฉันซึ่งลงตัวเรื่องโรงเรียนแล้ว ก็มัวแต่นั่งหนาวมือสั่นปากสั่นอยู่คนเดียว อู๊ยยยยยยยยย หนาววววววววววว (+_+)

ต่อจากนั้นอาจารย์ก็สั่งงาน โดยให้ทำ slide ในสิ่งที่สังเกต โดยการถ่ายรูปเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก ถ่ายสื่อ ถ่ายกิจกรรมต่างๆ แล้วก็ให้อัดเสียงร้องเพลงของตัวเองลงใน slide ด้วย พร้อมเขียนเล่าเรื่อง แล้วก็ให้ดูหน่วย และพิมพ์ตารางกิจกรรมประจำวัน พิมพ์ชื่อหน่วยของเทอมนี้ เพื่อดึงมาเขียนแผน

อาจารย์สอนวิธีควบคุมชั้นเรียนโดยการร้องเพลง พร้อมให้นักศึกษาเสนอเพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ พร้อมสอนเพลงเพิ่มเติม ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับเพลง ถ้าถามว่า "จำเพลงได้ไหม" ตอบได้แบบตรงๆว่า "จำไม่ได้เลยสักเพลง" แงแง โง่ได้อีก อย่างนี้ต้องฟื้นฟูความทรงจำหน่อยแล้ว ปลั้ก!!! ตบหัวตัวเองสลบ



Counting Numbers 1 - 10

เกมส์เรียงตัวเลข


เล่นเกมส์เกมส์เรียงตัวเลขและเกมส์อื่นๆที่นี่

เกมส์จับผิดภาพ


เล่นเกมส์เกมส์จับผิดภาพและเกมส์อื่นๆที่นี่